นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้ออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงต่อนโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์ โดยระบุว่า “ตามที่มีการประกาศนโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์และเสนอแนวทางการใช้เครดิตสกอร์ริ่งมาแทนในระบบสินเชื่อ ผมใคร่ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ลองพิจารณาดูนะครับ ชอบ ไม่ชอบ เชื่อ ไม่เชื่อ เห็นด้วย เห็นต่าง เป็นเรื่องปกติในระบบประชาธิปไตยที่เราทุกคนได้รับการรับรองสิทธิในการแสดงออก ดังคำพระที่ว่า อย่าเชื่อแต่จงใช้สติและปัญญามาพิจารณาให้ถ่องแท้”
1.แบล็กลิสต์มีอยู่ในรายงานเครดิตบูโรหรือไม่ คำตอบคือไม่มีส่วนใดในรายงานเครดิตบูโรที่จะระบุว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระหนี้รายนั้น เป็นคนที่ไม่สมควรจะคบค้าสมาคม ไม่สมควรจะทำธุรกิจด้วย หรือไม่สมควรที่จะได้สินเชื่อใหม่ที่กำลังยื่นขออยู่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
2.ประวัติการชำระหนี้ที่อยู่ในรายงานเครดิตบูโรนั้นมาได้อย่างไร คำตอบคือ สถาบันการเงินสมาชิกของเครดิตบูโรเป็นคนส่งมาให้ทุกเดือน มาตามที่กฎหมายกำหนด ใครมาเป็นสมาชิกก็ต้องส่งข้อมูลมา คนทำธุรกิจจำนำทะเบียนหลาย ๆ รายที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เขาไม่มาเป็นสมาชิก เขาก็ไม่ได้ส่งข้อมูลมา สหกรณ์ออมทรัพย์หลายรายก็แบบเดียวกัน และการมาเป็นสมาชิกเครดิตบูโรก็ด้วยความสมัครใจของสถาบันการเงินนั้นเอง หลายธนาคารต่างประเทศก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ดังนั้นใครไปเป็นลูกหนี้กับสถาบันการเงินเหล่านั้น ข้อมูลประวัติการชำระหนี้สินเชื่อของท่านก็ไม่มาที่ระบบเครดิตบูโร
3.ประวัติที่ถูกส่งมายังระบบเครดิตบูโรคือประวัติการชำระหนี้ตามที่ลูกค้ามีบัญชีอยู่ ถ้าจ่ายได้ตามกำหนด ตามสัญญา ข้อมูลจะบอกว่า ไม่ค้างชำระ แต่ถ้าไม่ได้ไปจ่ายด้วยเหตุผลใดก็ตาม รายงานก็จะระบุว่าค้างชำระ ตามความจริงเป๊ะ เพราะถ้าคนส่งข้อมูลไม่ดูแลความถูกต้อง เขาจะมีความผิดในการส่งข้อมูลและมีโทษในทางอาญา ดังนั้น CEO ของสถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโรจะเข้มงวดเรื่องนี้มาก
ทีนี้สมมติว่าเดือนเมษายน 2565 ไม่ได้จ่ายชำระหนี้ ก็จะรายงานว่า เดือนเมษายน 2565 ค้างชำระ พอเดือนพฤษภาคม 2565 ลูกหนี้เอาเงินไปเคลียร์สองยอด ยอดแรกคือของเก่าเดือนเมษายนและยอดครบกำหนดปัจจุบันคือเดือนพฤษภาคมได้เรียบร้อย ประวัติก็จะแสดงว่า เดือนพฤษภาคม 2565 ไม่ค้างชำระ
ตามความเข้าใจคือพรรคการเมืองเขาเสนอให้ลบความจริงเดือนเมษายน 2565 ออกไป คำถามคือ เราลบความจริงในประวัติเพื่อให้คนพิจารณาเงินกู้ไม่เห็น ไม่ให้แสดงความจริง กฎหมายบอกว่าสถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโรต้องส่งข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ย้ำว่าต้องถูกต้อง
ถ้าลบแล้วข้อมูลประวัติ จะหายไป 1 เดือน คือเดือนเมษายน คนพิจารณาให้กู้เขาก็จะรู้โดยอ้อมหรือไม่ว่าข้อมูลผิดปกติ แล้วคนฝากเงินที่เขาเอาเงินมาฝากเพื่อให้สถาบันการเงินเอาเงินไปให้กู้ต่อ จะสบายใจหรือไม่ สถาบันการเงินจะมีข้อมูลครบในการพิจารณาสินเชื่อ จากที่เคยมีประสบการณ์ที่เกิดในปี 2540 มาแล้ว ว่าเพราะคนปล่อยกู้มีข้อมูลไม่ครบ ไม่เห็นนิสัย ประวัติการชำระหนี้ แต่ปล่อยกู้ไป ความเสียหายก็เกิดขึ้นนับเป็นเงินระดับล้าน ๆ บาท ผ่านมา 20 กว่าปีก็ยังใช้ไม่หมด คนเสนอนโยบายก็มีประสบการณ์ร่วมในเหตุการณ์นั้นด้วยใช่หรือไม่
“เรากำลังจะลบความจริงเพื่อให้คนขอกู้ไปเอาเงินฝากผ่านคนกลางที่พิจารณาเรื่องโดยมีข้อมูลแหว่ง ไม่ครบ เราคิดจะทำอย่างนั้นจริง ๆ เหรอ”
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ถ้าอย่างนั้นต่อไป จะแก้ปัญหาคนไม่ได้งาน เพราะนายจ้างมีระบบคัดกรอง เราก็สนับสนุนให้ไปสมัครงาน โดยเอาใบเกรด 4ปี 8เทอมไปให้คนสัมภาษณ์ดู แต่เราก็สามารถลบวิชาที่เราสอบได้คะแนนไม่ดีออกไปได้ จะได้เหลือแต่วิชาที่สอบได้ดี เพื่อจะได้ผ่านการคัดกรอง มีงานทำ
4.แน่นอนว่าระบบการให้สินเชื่อเรายังไม่ตอบโจทย์ ยังมีคนตัวเล็ก SME ขนาดจิ๋ว ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อ หรือถ้าเข้าได้ก็โดนดอกเบี้ยแพง ยิ่งหลังโควิดมีแผลเป็นจากการชำระหนี้ เช่น เป็นคนเคยค้างแต่ตอนนี้ดีแล้ว , เป็นคนเคยประนอมหนี้แต่ตอนนี้กลับมาชำระปกติได้แล้ว , เป็นคนที่ยังมีคนค้าขายด้วย มีคนสั่งซื้อของแต่มีประวัติว่าเคยค้าง หรือแม้แต่ ปี 2562 ก่อนโควิด-19 ชำระหนี้ได้ทุกบัญชี ชำระหนี้ได้เต็มปี เต็มคาราเบล 12เดือน พอปี 2563 เจอโควิด-19 ปี 2564 เจอเดลต้า ปี 2565 เป็นหนี้เสียค้างเกินสามงวด เกิน 90วัน เป็นหนี้ NPLs รหัส 21 เวลานี้เศรษฐกิจกลับมาแล้ว แต่แผลเป็นคือเป็นหนี้เสีย เข้าไม่ถึงเพราะกติกาบอกว่าต้องปรับโครงสร้างหนี้ก่อนถึงจะใส่เงินใหม่ หนี้ใหม่เข้าไปได้
5.การจะได้เงินใหม่ หนี้ใหม่ ก็ต้องมีข้อมูลว่ามีรายได้แล้ว มีแน่นอน ที่ผ่านมารายได้มันหดหาย ภาษาเทพ ภาษาพรหมคือ income shock เกิดหลุมรายได้
ข้อมูลด้านอื่น ๆ เช่น ใช้น้ำใช้ไฟ ชำระหนี้ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ตรงเป๊ะ ไม่ค้าง ไม่เหนียวหนี้ หรือแม้แต่เป็นลูกจ้าง Platform ขายอาหาร ส่งของ ส่งสินค้า หรือมีข้อมูลจากผู้ซื้อที่เป็นกิจการของเจ้าสัว ว่าตัวเราเป็นซัพพลายเออร์ของเขา มียอดขายรายเดือนเท่านั้นเท่านี้ ถ้ามีข้อมูลแบบนี้ที่เรียกว่าข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ไปให้กับคนขอกู้ได้ก็จะไปช่วยสมานแผลเป็นจากประวัติชำระหนี้ค้าง
แนวคิดนี้ในหลายประเทศก็ทำ เช่น เครดิตบูโรของลาว ที่เอาข้อมูลค่าน้ำค่าไฟเข้าระบบ เครดิตบูโร กัมพูชาเอาข้อมูลเช็คเด้งเข้าระบบ เพราะเขารู้ว่ามันมีแผลเป็น บ้านเราข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในมือกิจการขนาดใหญ่ Platform รัฐวิสาหกิจ ถ้ายอมส่งข้อมูลไปยังสถาบันการเงินตามคำขอของลูกค้า ในฐานะเจ้าของข้อมูล ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำเป็นขั้นตอนทางดิจิทัล ผ่านมือถือ มันก็จะทัดเทียมประเทศอื่น ๆ ประเด็นคือการใช้ การแชร์ การส่งต่อข้อมูล ในโลกหลังโควิด-19 ข้อมูลเพิ่มก็จะช่วยให้รู้จักลูกค้าเพิ่ม แต่ในทางกลับกัน ถ้าลูกค้าท่านเหนียวหนี้ ท่านไม่ไปจ่ายหนี้สาธารณูปโภค ท่านก็ไม่ได้สินเชื่อ แล้วต้องมีนโยบายเลือกตั้งครั้งหน้าให้ลบประวัติการค้างชำระหนี้พวกนี้อีกหรือไม่
6.ถ้าเอาข้อมูลทั้งระบบเก่าคือประวัติการชำระหนี้ กับข้อมูลทางเลือกใหม่ มาผสมกันแบบที่ธนาคารโลกสนับสนุน และบ้านเราก็มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานไปดำเนินการมากว่า 5-7 ปีที่แล้วในเรื่อง Ease of Doing business ถ้าเราทำให้จบเวลานั้น เราคงไม่มาพูดกันในเวลานี้ แม้แต่ทางธุรกิจโทรคมนาคมเข้ามีหนังสืออย่างเป็นทางการขอส่งและแลกข้อมูลของมือถือ (Mobile data) กฎหมายและผู้คุมกฎหมายก็ยังไม่อนุมัติให้ทำได้ เพราะกฎหมายในปัจจุบันไม่เปิดช่อง (ตีความแล้ว)
“เห็นด้วยในเรื่องปรับปรุงแนวคิดระบบการให้สินเชื่อของประเทศไทยเรา เพราะเรามีแผลเป็นจากโควิดในตัวคนกู้มากมาย และเขาต้องไปต่อ หากแต่เราจะไปยกเลิกในสิ่งที่มันไม่มีอยู่จริง ไม่เคยมี เป็นเรื่องของสิ่งที่พูดกันต่อ ๆ มา ตามความเชื่อ ไม่มีหลักฐาน เราคงไม่ทำอย่างนั้นแน่ เพราะเรามีสติปัญญาความกล้าหาญมากกว่านั้นแน่นอน”
สุดท้าย ในศีล 5 ข้อจะมีเรื่องของการไม่โกหก ไม่พูดเท็จ ไม่ทำให้คนอื่นเชื่อในความเท็จ คนไทยต้องกล้า กล้าที่จะแก้ไข ต้องไม่กล้าที่จะส่งเสริมการลบความจริง มันมีนวัตกรรมทางความคิดที่ดีมากในส่วนที่สองคือ หาข้อมูลเป็นฮีรูดอยล์มาบรรเทาความทุกข์จากแผลเป็นที่ทำให้เราดูไม่ดีจนคนเขาไม่เชื่อที่จะให้เรายืมเงิน.