กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซา ปล่อยภาพใหม่รับช่วงปลายปีที่เทศกาลแห่งความสุขกำลังใกล้เข้ามา โดยเป็นภาพของ “ซากซูเปอร์โนวาแคสสิโอเปีย เอ” (Cas A) ที่เปล่งประกายไม่แพ้ต้นคริสต์มาสที่ได้รับการตกแต่งสวยงาม
ภาพที่ดูสดใสนี้ถูกถ่ายด้วยกล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (NIRCam) ของ เจมส์ เว็บบ์ แสดงการระเบิดของดาวฤกษ์ด้วยความละเอียดที่กล้องตัวอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้
นักวิทย์พบ “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” กุญแจไขคำตอบการกำเนิดดาวเคราะห์
“อามาเทราสุ” อนุภาคปริศนาตกลงมายังโลกจากพื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศ
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพใจกลางทางช้างเผือก เห็นดาวฤกษ์กว่า 5 แสนดวง
Cas A อยู่ห่างจากโลก 11,000 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย (กลุ่มดาวค้างคาว) คาดว่าน่าจะระเบิดเมื่อประมาณ 340 ปีที่แล้วจากมุมมองบนโลก
มันเป็นหนึ่งในซากซูเปอร์โนวาที่ได้รับการศึกษามากที่สุด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หอดูดาวทั้งภาคพื้นดินและในอวกาศได้ถ่ายภาพซากซูเปอร์โนวาแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมาก
แต่ภาพใหม่ที่มีความละเอียดสูงนี้ เผยให้เห็นรายละเอียดที่ซับซ้อนของ “เปลือก” ที่กำลังขยายตัวซึ่งปะทะเข้ากับก๊าซที่ดาวฤกษ์ปล่อยออกมาก่อนที่มันจะระเบิด และเผยให้เห็นคุณลักษณะใหม่ ๆ ภายในเปลือกชั้นในของเศษซากซูเปอร์โนวา
แต่ละสีในภาพจะบ่งบอกถึงกิจกรรมที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นภายในซากซูเปอร์โนวา
โดยสีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในภาพล่าสุดของเว็บบ์คือ กระจุกที่แสดงเป็นสีส้มสดใสและสีชมพูอ่อนซึ่งประกอบกันเป็นเปลือกชั้นในของซากซูเปอร์โนวา มุมมองที่คมชัดของเว็บบ์สามารถตรวจจับกระจุกก๊าซที่เล็กที่สุดซึ่งประกอบด้วย ซัลเฟอร์ ออกซิเจน อาร์กอน และนีออน
สิ่งที่ฝังอยู่ในกระจุกก๊าซนี้เป็นส่วนผสมของฝุ่นและโมเลกุล ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นส่วนประกอบของดาวดวงใหม่และระบบดาวเคราะห์ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่เป็นเหมือน “เส้นใย” ของเศษซากบางส่วน ซึ่งมีขนาดเล็กมากในภาพ
แดนนี มิลิซาฟเยวิช จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “ด้วยความละเอียดของ NIRCam ตอนนี้เราสามารถเห็นได้ว่า ดาวที่กำลังจะตายแตกสลายมีลักษณะอย่างไรเมื่อมันระเบิด และเหลือเส้นใยที่คล้ายกับเศษแก้วเล็ก ๆ ไว้”
เขาเสริมว่า “มันน่าเหลือเชื่อจริง ๆ หลังจากศึกษา Cas A มาหลายปีเพื่อดูรายละเอียดเหล่านั้น ซึ่งทำให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงว่าดาวฤกษ์ดวงนี้ระเบิดได้อย่างไร”
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาพที่ถ่ายโดย NIRCam กับกล้องอินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) พบว่า ช่องด้านในและเปลือกนอกสุดของ Cas A ไม่มีสีอย่างน่าประหลาด
โดยขอบของเปลือกด้านในหลักซึ่งปรากฏเป็นสีส้มเข้มและสีแดงในภาพ MIRI ดูเหมือนควันจากแคมป์ไฟ นี่เป็นเครื่องหมายว่า คลื่นระเบิดซูเปอร์โนวาได้พุ่งชนวัตถุรอบดาวฤกษ์ที่อยู่รอบ ๆ
นักวิจัยกล่าวว่าสีขาวคือแสงจากรังสีซินโครตรอน ซึ่งปล่อยออกมาผ่านสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงรังสีอินฟราเรดใกล้ด้วย มันถูกสร้างขึ้นโดยอนุภาคที่มีประจุซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากหมุนวนรอบเส้นสนามแม่เหล็ก รังสีซินโครตรอนยังมองเห็นได้ในเปลือกคล้ายฟองที่ครึ่งล่างของช่องด้านใน
อีกสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยกล้อง NIRCam คือรูโหว่หรือวงแหวนสีเขียวตรงกลางภาพ ที่เห็นได้ชัดเจนในกล้อง MIRI ทีมวิจัยตั้งชื่อเล่นมันว่า “สัตว์ประหลาดสีเขียว” (Green Monster)
รูโหว่ที่มองเห็นได้ในภาพ MIRI นั้น ถ้ามองด้วย NIRCam จะมีลักษณะเป็นเส้นขอบจาง ๆ สีขาวและสีม่วง ซึ่งแสดงถึงก๊าซไอออไนซ์ นักวิจัยเชื่อว่านี่เป็นเพราะเศษซูเปอร์โนวาที่พุ่งทะลุผ่านออกมาและส่งผลต่อรูปลักษณ์ของก๊าซที่ดาวฤกษ์ทิ้งไว้ก่อนที่มันจะระเบิด
เรียบเรียงจาก NASA
ภาพจาก NASA, ESA, CSA, STScI, D. Milisavljevic (Purdue University), T. Temim (Princeton University), Iคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ1. De Looze (Ghent University)
หลุดแชทเด็ก 17 ปี เรียกเพื่อนมารับหลังรู้ตัวถูก “สมรักษ์” พามาโรงแรม
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
กู้ภัยระดมเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้สูญหายในทะเลหาดจอมเทียน ยังไม่ชัดมีกี่คน